สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมินจะมาอธิบายเกี่ยวกับ “ภาษีป้าย” โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ที่ยังไม่ทราบ ถ้าไม่ใส่ใจจะทำให้เกิดการกระทำผิดกฎหมายได้โดยไม่รู้ตัว และถ้าหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีอาจทำให้เราโดนเรียกปรับย้อนหลังได้นะคะ !!
ป้ายเป็นสิ่งที่ทุกคนพบเห็นทั่วไปหรือสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน เช่น ป้ายข้างทาง ป้ายติดตามตึก หน้าร้านค้าต่าง ๆ เป็นต้น แต่จะมีป้ายบางประเภทที่เสียภาษีด้วย !! แล้วภาษีป้ายคืออะไรล่ะ
ภาษีป้าย
คือ ภาษีเก็บจากป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ เครื่องหมายการค้า หรือโฆษณาการค้าเพื่อหารายได้ ที่เป็นข้อความ ภาพ และเครื่องหมายที่เขียนบนวัสดุหรือแกะสลักต่าง ๆ ต้องเสียภาษีทั้งหมด
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีป้าย คือ คนที่เป็นเจ้าของหรือคนที่ครอบครองป้าย
**กรณี ที่ไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย หรือ พนักงานหาเจ้าของป้ายไม่ได้ ให้ถือว่า ผู้ที่ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่มีป้ายติด คือ ผู้ที่เสียภาษีป้าย
อัตราภาษีป้าย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 ข้อความไทยล้วน คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 3 บาท
ประเภทที่ 2 ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพและเครื่องหมาย คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 20 บาท
ประเภทที่ 3 ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย, มีอักษรไทยใต้หรืออยู่ต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 40 บาท
ตัวอย่างการคำนวณภาษีป้าย
- ป้ายที่มีขอบเขตกำหนด (ส่วนที่กว้างที่สุด x ส่วนที่ยาวที่สุดของขอบเขตป้าย)
- ป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนด (ให้ถือตัวอักษร, ภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตเพื่อกำหนดส่วนที่กว้างที่สุด x ส่วนที่ยาวที่สุด)
- คำนวนพื้นที่เป็นตารางเซนติเมตร
- ป้ายที่ติดบนพื้นที่ขนาดใหญ่มาก ๆ คิดแค่ความกว้าง x ความยาวของตัวอักษรและโลโก้
ระยะเวลาการชำระภาษีป้าย
- เจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายมีหน้าที่เสียภาษีที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภายเดือนมีนาคมของทุกปี
- กรณีติดตั้งป้ายหลังเดือนมีนาคมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ติดตั้งป้ายหรือวันที่เปลี่ยนแปลงแก้ไข
- ชำระภาษีทันทีในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีหรือภายใน 15 วัน ไม่งั้นจะเสียเงินเพิ่มนะคะ
**หมายเหตุ เงินเพิ่ม คือ
- ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลากำหนด เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษี
- ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีป้ายลดน้อยลงให้เสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 10 ของค่าภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม
- ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของค่าภาษีป้าย
กรณีป้ายติดใหม่
เอกสารหลักฐานที่นำมาใช้ในการติดต่อ
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– ทะเบียนพาณิชย์หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียน
– แผนที่ตั้งพอสังเขป
ขั้นตอนการให้บริการ
– ยื่นแบบประเมินภาษี
– ตรวจสอบ
– ขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ออกสำรวจตรวจสอบป้าย
– คำนวณค่าภาษี แจ้งให้ผู้ยื่นเสียภาษีทราบ
– ออกใบเสร็จรับเงิน
กรณีเสียภาษีป้ายเดิม
เอกสารที่ต้องใช้ในการติดต่อ
– ใบเสร็จรับเงินของปีที่ผ่านมา
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
– ทะเบียนพาณิชย์หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียน
– แผนที่ตัั้งพอสังเขป
– หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถติดต่อได้ด้วยตัวเอง)
ขั้นตอนการให้บริการ
– ยื่นแบบประเมินภาษี
– ตรวจสอบเอกสารเพื่อประเมินภาษี
– ออกใบเสร็จรับเงิน
แล้วติดป้ายแบบไหนถึงไม่ต้องเสียภาษี
ตามกฎหมายแล้ว ป้ายที่แสดงถึงตราสินค้าหรือป้ายทำโฆษณาเพื่อหารายได้บนวัตถุต่าง ๆ จะถูกเก็บภาษี แต่ก็มีป้ายที่ได้รับ ยกเว้น เสียภาษีด้วยนะ
- ป้ายสำหรับแสดงบนสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของสินค้า
- ป้ายจัดงานแบบชั่วคราว
- ป้ายที่จัดแสดงในอาคาร ซึ่งแต่ละป้ายต้องมีขนาดไม่เกิน 3 ตารางเมตร
- ป้ายของราชการและป้ายขององค์การที่จัดตั้งตามกฎหมาย เช่น ป้ายธนาคารออมสิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
- ป้ายของโรงเรียนทั้งรัฐและเอกชน
- ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรที่ทำการค้าขายผลิตผลที่เกิดจากการทำการเกษตรด้วยตนเอง
- ป้ายของวัด สมาคม มูลนิธิ
- ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เช่น ป้ายที่ติดยานพาหนะเช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบดถนน รถแทรกเตอร์
- ป้ายที่จัดแสดงไว้ที่ยานพาหนะ โดยมีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตารางเซนติเมตร
- ป้ายที่ติดตั้งไว้บนล้อเลื่อน (ต้องมีการเลื่อนป้ายเข้าออก)
หมายเหตุ และอื่น ๆ ตามพ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510